Page 66 - สรุปรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี 2566
P. 66
61
6.3 ประชุมเชิงปฏิบัติการซ้อมแผนตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ
วันที่ 11 มกราคม 2566 กลุ่มด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศและกักกันโรค
จัดประชุมเชิงปฏิบัติการซ้อมแผนตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ ณ ด่านพรมแดน
สะเดา กลุ่มเป้าหมาย ด่านศุลกากร ด่านตรวจคนเข้าเมือง ด่านกักกันสัตว์ ศูนย์บริหารจัดการ ด่านตรวจ
ประมงฯ ด่านอาหารและยา ด่านตรวจคนหางาน ด่านตรวจพืช ด่านตรวจสัตว์ป่า โรงพยาบาล ด่านควบคุม
โรคติดต่อระหว่างประเทศฯ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่ สาธารณสุขอำเภอ และเจ้าหน้าที่สาธารณสุขใน
ประเทศมาเลเซีย รวมจำนวน 63 คน ค่าใช้จ่ายในการจัดกิจกรรม จำนวน 37,100 บาท
หลักการและเหตุผล
การซ้อมแผนตอบโต้ภาวะฉุกเฉินระหว่างประเทศ ตามความในพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558
และกฎอนามัยระหว่างประเทศ พ.ศ. 2548 ได้กำหนดให้ช่องทางเข้าออกระหว่างประเทศต้องมีการพัฒนา
สมรรถนะในการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางด้านสาธารณสุขที่มีแนวโน้มแพร่ระบาดข้ามประเทศ (Public Health
Emergency of International Concerns, PHEIC) และจากการเปิดประเทศในวันที่ 1 ตุลาคม 2565 หลัง
สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) สงบลง พบว่าเริ่มมีการส่งต่อผู้ป่วย/
ศพระหว่างประเทศเพิ่มมากขึ้น แต่ยังไม่พบการส่งต่อผู้ป่วย/ศพที่ติดเชื้อระหว่างประเทศ มีเหตุการณ์กรณีส่ง
ศพไปยังประเทศมาเลเซียแต่เตรียมเอกสารไม่ครบถ้วนทำให้เกิดความล่าช้าในกระบวนการส่งต่อ และอาจเกิด
การระบาดซ้ำจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้ออื่นๆ ในอนาคต กลุ่มด่านควบคุมโรคติดต่อ
ระหว่างประเทศและกักกันโรค สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 จังหวัดสงขลา จึงได้จัดทำแผนตอบโต้ภาวะ
ฉุกเฉินทางด้านสาธารณสุขเพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินงานและเตรียมความพร้อมหากภาวะฉุกเฉินเกิดขึ้น
เพื่อสร้างความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ของผู้รับผิดชอบ ช่วยป้องกันความสับสน และลดความซ้ำซ้อนของการ
ปฏิบัติงานของหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในระหว่างการดำเนินมาตรการ โดยงานด่านควบคุมโรคติดต่อ
ระหว่างประเทศเป็นแกนหลักและผู้ประสานงาน ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือของผู้ปฏิบัติงานจากหน่วยงาน
เครือข่ายที่รู้เข้าใจขั้นตอนการดำเนินการและความรับผิดชอบในส่วนงานของตนเอง
วัตถุประสงค์
เพื่อซักซ้อมระบบการปฏิบัติการส่งต่อผู้ป่วย/ศพ ที่ติดเชื้อ ข้ามพรมแดนระหว่างประเทศ และสร้าง
ความเข้าใจในหน้าที่ของผู้รับผิดชอบที่จะช่วยให้จัดการกับสถานการณ์เมื่อเกิดภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข
หรือโรคติดต่อระบาดในต่างประเทศ และมีผู้เดินทางมาจากประเทศที่ได้รับผลกระทบ (Affected Area) เข้า
มาในราชอาณาจักรได้อย่างดี
วัตถุประสงค์เฉพาะ
1. เพื่อซ้อมบทบาทการควบคุมการติดเชื้อระหว่างการส่งต่อผู้ป่วย/ศพ ในช่องทางเข้าออกประเทศ
ของผู้ปฏิบัติงานที่มีส่วนเกี่ยวข้อง หน่วยงานเครือข่ายสาธารณสุขในพื้นที่