Page 24 - สรุปรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี 2566
P. 24

19


                        สรุปผลการนิเทศ ติดตาม ประเมินผลการดำเนินงานพัฒนาสมรรถนะหลักช่องทางเข้าออกประเทศ
                                          (Internal audit) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

                                          โดยใช้คู่มือการประเมินที่องค์การอนามัยโลกกำหนด


                       ตามกฎอนามัยระหว่างประเทศ พ.ศ.2548 (International Health Regulations 2005 :   IHR 2005)

               มีข้อกำหนดให้ช่องทางเข้าออกประเทศต้องได้รับการพัฒนาสมรรถนะหลักให้สามารถปฏิบัติตามกฎอนามัยระหว่าง
               ประเทศ รวมถึงมีความพร้อมเพื่อรองรับภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ (Public Health Emergency of
               International Concern : PHEIC)

                       ช่องทางเข้าออกประเทศที่อยู่ในเขตภาคใต้ตอนล่าง รวม 14 ช่องทาง จะได้รับการประเมินฯ (Internal audit)

               จากกลุ่มด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศและกักกันโรค สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 จังหวัดสงขลา โดย
               รูปแบบการประเมินครั้งนี้ ผู้ประเมินได้ทำการประเมิน โดยใช้คู่มือการประเมินสมรรถนะหลักช่องทางเข้าออกประเทศ

               ท่าอากาศยาน ท่าเรือ และพรมแดนทางบก ขององค์การอนามัยโลก ทั้ง 14 ช่องทาง โดยการดำเนินงานในปีงบประมาณ

               พ.ศ. 2566 กลุ่มด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศและกักกันโรค สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 จังหวัดสงขลา ได้
               จัดทำแผนปฏิบัติงานการติดตามประเมินการพัฒนาสมรรถนะหลักช่องทางเข้าออกระหว่างประเทศตามกฎอนามัย

               ระหว่างประเทศ พ.ศ.2548 โดยมีรายละเอียดดังภาคผนวก 1 และได้ทำการประเมิน 3 ส่วน ดังนี้

                       1. การประเมินตามมาตรฐานการดำเนินงาน ตามคู่มือของกองด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศและ
               กักกันโรค โดยแบ่งตามหัวข้อ 3 ด้าน คือ (1) ด้านมาตรฐานโครงสร้าง (2) ด้านมาตรฐานกระบวนการ และ (3) ด้าน

               มาตรฐานผลลัพธ์ ตามแบบฟอร์มในภาคผนวกที่ 2 โดยผลการประเมินตามมาตรฐานการดำเนินงานภาพรวมของเขต
               ภาคใต้ตอนล่าง ด้านมาตรฐานโครงสร้าง ได้ 52.07 คะแนน มาตรฐานกระบวนการ ได้ 40 คะแนน และมาตรฐาน

               ผลลัพธ์ ได้ 20 คะแนน  คะแนนรวม 112.07 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 90.37 อยู่ในระดับดีมาก และสามารถสรุปได้ว่า

               ด่านที่อยู่ในเกณฑ์ระดับดีมาก มีจำนวน 13 ด่าน และระดับดี จำนวน 1 ด่าน รายละเอียดแสดงดังตารางที่ 6.2.2
                       2. การประเมินการพัฒนาสมรรถนะหลักช่องทางเข้าออกประเทศ (CCAT) ประกอบด้วย ๒ ส่วน คือ Part A

               และ Part B
                              - Part A : สมรรถนะหลักในการประสานงาน การสื่อสารข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

               และการนำมาตรการต่างๆมาใช้

                              - Part B มี 2 ส่วนคือ
                                     1. B-I สมรรถนะหลักที่ช่องทางเข้าออกประเทศทุกประเภทที่กำหนดไว้ ทั้งท่าอากาศยาน

               ท่าเรือ และจุดผ่านแดนทางบกจะต้องได้รับการพัฒนา ต้องมีตลอดเวลา (ในสภาวะปกติ)

                                     2. B-II การแก้ไขเหตุการณ์ที่อาจก่อให้เกิดภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ
               PHEIC (Emergencies)
   19   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29