Page 122 - สรุปรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี 2566
P. 122

117


               หมายเหตุ: ด่านท่าอากาศยานหาดใหญ่ อ้างอิงจากผลตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำประจำเดือนของท่าอากาศยาน

               หาดใหญ่ โดยมีการตรวจวิเคราะห์ทางกายภาพ ทางเคมี และทางจุลชีววิทยา รายละเอียดดังนี้
                              1.ทางกายภาพ จำนวน 3 รายการ ได้แก่ ค่าความเป็นกรดด่าง (pH), สี (Color) และความขุ่น

               (Turbidity)

                              2. ทางเคมี จำนวน 8 รายการ ได้แก่ ความกระด้าง (Hardness as CaCO ), ปริมาณสารทั้งหมด
                                                                                        3
               (TDS), เหล็ก (Fe), สังกะสี (Zn), ตะกั่ว (Pb), ซัลเฟต (SO ), ไนเตรท (NO ) และปรอท (Hg) ซึ่งค่าปรอททำการตรวจ
                                                                        3
                                                            4
               วิเคราะห์ปีละ 1 ครั้ง
                              3. ทางจุลชีววิทยา จำนวน 3 รายการ ได้แก่ ค่าปริมาณแบคทีเรียทั้งหมด (Total Bacteria

               Count), ค่าปริมาณแบคทีเรียกลุ่มโคลิฟอร์มทั้งหมด (Total Coliform Bacteria, TCB) และ ค่าปริมาณอีโคไล

               (E. coli) ซึ่งส่งวิเคราะห์ที่ศูนย์บริการตรวจสอบและรับรองมาตรฐาน คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
               จังหวัดสงขลา

                       2. ประเภทน้ำบาดาล ใช้ใน 3 ช่องทาง คือ ด่านท่าเรือกันตัง, ด่านท่าเรือปัตตานีและด่านฯบ้าน
               ประกอบทำการเก็บตัวอย่างน้ำเพื่อตรวจวิเคราะห์ทางเคมี ได้แก่ ค่าปรอท (Hg) และทางจุลชีววิทยา ได้แก่

               ค่าปริมาณแบคทีเรียกลุ่มโคลิฟอร์มทั้งหมด (Total Coliform Bacteria, TCB)

                       3. ประเภทน้ำผิวดิน (ประปาภูเขา) ใช้ใน 2 ช่องทาง คือ ด่านพรมแดนบูเก๊ะตาและด่านพรมแดน
               วังประจัน ทำการเก็บตัวอย่างน้ำเพื่อตรวจวิเคราะห์ทางเคมี ได้แก่ ค่าปรอท(Hg) และทางจุลชีววิทยา ได้แก่

               ค่าปริมาณแบคทีเรียกลุ่ม โคลิฟอร์มทั้งหมด (Total Coliform Bacteria, TCB) และ ค่าปริมาณแบคทีเรียฟีคัล

               โคลิฟอร์ม (Fecal Coliform Bacteria, FCB)
              วิธีการเก็บตัวอย่างน้ำ

                       1. ผู้เก็บตัวอย่างเช็ดบริเวณก๊อกให้แห้งและทำการฆ่าเชื้อโรคที่ปลายก๊อกน้ำ โดยใช้สำลีชุบแอลกอฮอล์
                           70% เช็ดก๊อกน้ำ เพื่อเป็นการฆ่าเชื้อโรคก่อนดำเนินการเก็บตัวอย่างน้ำ

                       2. เปิดก๊อกน้ำให้น้ำไหลเต็มที่เป็นเวลา 1 นาที เพื่อระบายน้ำที่ค้างอยู่ในเส้นท่อทิ้ง

                       3. ปรับการไหลของน้ำ ให้น้ำไหลปานกลางก่อนทำการเก็บตัวอย่างน้ำ
                       4. เก็บตัวอย่างน้ำเพื่อตรวจวิเคราะห์ทางจุลชีววิทยาก่อน โดยระวังอย่าให้ปากขวดของภาชนะบรรจุ

                           ตัวอย่างน้ำสัมผัสกับปลายก๊อก หรือสิ่งอื่นๆ เพราะจะทำให้ภาชนะได้รับการปนเปื้อน จากนั้นทำ
                           การเก็บตัวอย่างน้ำเพื่อตรวจวิเคราะห์ทางเคมีต่อไป

                       5. บันทึกรายละเอียดของตัวอย่างลงบนฉลากได้แก่ วันเวลา สถานที่เก็บตัวอย่าง ประเภทน้ำ

                           จากนั้นติดฉลากบริเวณข้างขวดตัวอย่างให้เรียบร้อย
                       6. นำขวดตัวอย่างน้ำเก็บในภาชนะควบคุมอุณหภูมิที่มีน้ำแข็งอยู่ภายใน และนำส่งห้องปฏิบัติการ

               ทันที
   117   118   119   120   121   122   123   124   125   126   127