Page 121 - สรุปรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี 2566
P. 121
116
บทนำ
โดยที่พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ.2558 ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 132 ตอนที่ 86 ก
เมื่อวันที่ 8 กันยายน 2558 ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 6 มีนาคม 2559 เป็นต้นไปนั้น ตามมาตรา 37
ให้ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบช่องทางเข้าออกปฏิบัติตามวิธีการเพื่อการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ
ระหว่างประเทศในบริเวณช่องทางเข้าออก ในส่วนจัดการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมให้ถูกสุขลักษณะ รวมทั้งกำจัด
สิ่งอันอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ
ในการนี้กลุ่มด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศและกักกันโรค สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12
จังหวัดสงขลา ได้ดำเนินการตรวจสอบคุณภาพน้ำบริเวณช่องทางเข้าออกประเทศ เขต 12 จังหวัดสงขลา
จำนวนทั้งสิ้น 14 ช่องทาง ดังนี้
1. ด่านพรมแดนบ้านประกอบ อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา
2. ด่านพรมแดนสะเดา อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา
3. ด่านพรมแดนปาดังเบซาร์ อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา
4. ด่านพรมแดนสุไหงโก-ลก อำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส
5. ด่านพรมแดนเบตง อำเภอเบตง จังหวัดยะลา
6. ด่านพรมแดนตากใบ อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส
7. ด่านพรมแดนบูเก๊ะตา อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส
8. ด่านพรมแดนวังประจัน อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล
9. ด่านท่าเรือสงขลา อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา
10. ด่านท่าเรือปัตตานี อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี
11. ด่านท่าเรือตำมะลัง อำเภอเมือง จังหวัดสตูล
12. ด่านท่าเรือกันตัง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง
13. ด่านท่าอากาศยานหาดใหญ่ อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา
14. ด่านท่าอากาศยานนราธิวาส อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส
โดยทำการเก็บตัวอย่างน้ำใช้บริเวณช่องทางเข้าออกประเทศซึ่งดำเนินการเก็บตัวอย่างโดยเจ้าหน้าที่
ของกลุ่มด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศและกักกันโรคและส่งตรวจโดยศูนย์เครื่องมือและฝึกอบรม
ด้านสิ่งแวดล้อม คณะการจัดการสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
การดำเนินการเก็บตัวอย่างน้ำบริเวณช่องทางเข้าออกประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 14 แห่ง แบ่งแหล่งที่มา
ของน้ำได้ 3 ประเภท คือ
1. ประเภทน้ำประปา ใช้ใน 9 ช่องทาง คือ ด่านพรมแดนสะเดา, ด่านพรมแดนปาดังเบซาร์, ด่าน
พรมแดนสุไหงโก-ลก, ด่านพรมแดนตากใบ, ด่านพรมแดนเบตง, ด่านท่าอากาศยานนราธิวาส, ด่านท่าอากาศ
ยานหาดใหญ่, ด่านท่าเรือตำมะลังและด่านท่าเรือสงขลา ทำการเก็บตัวอย่างน้ำเพื่อตรวจวิเคราะห์ทางเคมี
ได้แก่ ค่าปรอท (Hg) และทางจุลชีววิทยา ได้แก่ ค่าปริมาณแบคทีเรียกลุ่มโคลิฟอร์มทั้งหมด (Total Coliform
Bacteria, TCB)