Page 91 - สรุปรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี 2566
P. 91

86




                                                         บทที่ 1

                                       ประวัติ ความเป็นมาของการประกอบพิธีฮัจญ์

               ความหมายของฮัจญ์

                       ฮัจญ์ หมายถึง การมุ่งไปสู่อับกะฮ์บะฮ์ เพื่อปฏิบัติศาสนกิจในเดือนซุลฮิจญะฮ คือ เดือนที่ 12 ตาม

               ปฏิทินอิสลาม (ราชบัณฑิตยสถาน, 2542, หน้า 121) ส่วนความหมายทางด้านศาสนบัญญัติ หมายถึง การมุ่งสู่
               บัยตุลลอฮเพื่อทำการฎอวาฟ การสะแอ การวุกูฟที่ทุ่งอะรอฟะฮและปฏิบัติศาสนกิจต่างๆ ตามแบบอย่างที่

               ท่านรอซูล (ศาสดา) ได้กำหนดไว้ตามวัน เวลา และสถานที่ที่ได้กำหนดไว้

                       การประกอบพิธีฮัจญ์เป็นหนึ่งในห้าของหลักปฏิบัติศาสนกิจตามหลักการอิสลามที่มุสลิมทุกคนต้อง
               ปฏิบัติตาม โดยการปฏิบัติศาสนกิจตามหลักการอิสลาม 5 ประการ ประกอบด้วย (1) การปฏิญาณตน (2) การ

               ละหมาด (3) การจ่ายซะกาตหรือให้ทาน (4) การถือศีลอด และ (5) การประกอบพิธีฮัจญ์ ณ ประเทศ
               ซาอุดิอาระเบีย

                       ถึงแม้การประกอบพิธีฮัจญ์จะเป็นข้อกำหนดให้ผู้นับถือศาสนาอิสลาม (มุสลิม) ทุกคนต้องปฏิบัติแล้ว

               แต่ได้กำหนดไว้สำหรับมุสลิมที่มีความพร้อมเท่านั้น กล่าวคือ มีสุขภาพแข็งแรง สติปัญญาสมบูรณ์ มีทรัพย์สิน
               เพียงพอในการใช้จ่ายโดยมิต้องกู้หนี้ยืมสินและเดือดร้อนบุคคลที่ต้องรับผิดชอบ และเส้นทางที่จะเดินทางไป

               จะต้องปลอดภัย ดังนั้นการนำที่ดินและทรัพย์สินไปจำนอง จำนำ หรือขาย เพื่อนำไปประกอบพิธีฮัจญ์ โดยกลับ
               มาแล้วไม่มีที่ทำกินหรือเป็นเหตุที่สร้างความเดือดร้อนให้แก่ลูกหลาน จึงเป็นการกระทำที่ผิดศาสนบัญญัติ

               เช่นเดียวกับคนที่มีความสามารถพร้อมแต่ไม่ยอมไปประกอบพิธีฮัจญ์ เพราะเสียดายทรัพย์สินจะหมด และถ้า

               หากไม่มีความสามารถด้านทรัพย์และสุขภาพ ก็ไม่เป็นความผิดแต่อย่างไร เพราะตกอยู่ในเหตุของการด้อย
               ความสามารถ ดังนั้นมุสลิมผู้ประสงค์เดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์ ต่างก็ต้องอดออม มุ่งทำงานด้วยความสุจริต

               และประพฤติตนตามหลักศาสนาอย่างเคร่งครัดทั้งกาย วาจา และใจ

                       ด้วยเหตุนี้การประกอบพิธีฮัจญ์จึงเป็นหลักปฏิบัติต่อพระผู้เป็นเจ้า ซึ่งเป็นเป้าหมายในการขัดเกลา
               จิตใจให้สะอาดบริสุทธิ์ ผู้ที่เดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์ต้องใช้ความอุตสาหะ เสียสละทั้งกำลังกาย กำลังทรัพย์

               กำลังสติปัญญา และต้องอดทนต่อความยากลำบาก อีกทั้งต้องมีความสามารถที่จะไปได้โดยไม่ต้องกู้หนี้ หรือ

               ยืมทรัพย์สินของผู้อื่น
                       สำหรับประเทศไทยนั้นมีผู้แสวงบุญเดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์ ณ นครมักกะฮ์ ประเทศ

               ซาอุดิอาระเบีย มาตลอดอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน สำหรับในปี 2566 กระทรวงฮัจญ์และอุม
               เราะห์ของประเทศซาอุดิอาระเบียได้จัดสรรโควตาผู้แสวงบุญชาวไทย จำนวน 13,000 คน ไม่มีการกำหนดอายุ

               ของผู้เดินทางไปแสวงบุญ และกำหนดต้องได้รับการฉีดวัคซีน 3 ชนิด ได้แก่ 1) วัคซีนโควิด 19 (ครบโดส) 2)

               วัคซีนไข้หวัดใหญ่ 3) วัคซีนไข้กาฬหลังแอ่น
                       ทั้งนี้รัฐบาลไทยได้ตระหนักถึงความสำคัญ จึงได้ตราพระราชบัญญัติส่งเสริมกิจการฮัจญ์ พ.ศ.2524

               องค์กรที่รับผิดชอบตามพระราชบัญญัติดังกล่าว คือ คณะกรรมการส่งเสริมกิจการฮัจญ์แห่งประเทศไทย
               มีคณะกรรมการประกอบด้วย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมเป็นประธาน ผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

               และผู้ทรงคุณวุฒิ เป็นกรรมการ โดยอธิบดีกรมการศาสนาเป็นกรรมการและเลขานุการ และกรรมการศาสนา

               ทำหน้าที่สำนักเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมกิจการฮัจญ์แห่งประเทศไทย เจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติ
               มีวัตถุประสงค์ ดังนี้
   86   87   88   89   90   91   92   93   94   95   96