Page 77 - สรุปรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี 2566
P. 77
72
ข้อเสนอเเนะอื่นๆ
1. ควรแบ่งโซนให้ชัดเจน แยกผู้ป่วยและผู้เดินทางปกติ
2. ความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่
2.1 การป้องกันการติดเชื้อ การส่งต่อ มีข้อพิจารณาเรื่องจำนวนเจ้าหน้าที่ที่ดูผู้ป่วย ควรมี
ผู้สัมผัสน้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ กรณีที่ไม่จำเป็นต้องให้การพยาบาลผู้ป่วยตลอดทาง อาจให้พยาบาลมานั่งคู่
คนขับรถได้ แต่หากผู้ป่วยต้องทำการพยาบาลตลอดการเดินทางอาจให้มีพยาบาลนั่งไปกับผู้ป่วยได้ พยายามจัด
ผู้ป่วยให้เหมาะสม เพื่อให้เจ้าหน้าที่ลดการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยมากที่สุด
2.2 การสวม PPE การป้องกันตัวเองตามลักษณะอาการของผู้ป่วย กรณีนี้โรคติดเชื้ออาจ
มีหลงเหลืออยู่ ให้มองในช่องทางการเเพร่เชื้อ ป้องกัน Droplet ให้ใส่ Surgical Mask, Face Shield,
เสื้อกาวน์, การถอดชุด PPE ต้องระมัดระวัง กรณีของการซ้อมแผนครั้งนี้มีการถอดชุด PEE พร้อมกัน 2 คน
อาจต้องแยกโซนให้อยู่ห่างกันเพื่อป้องกันสารคัดหลั่งกระเด็นไปโดนอีกคน อาจให้ถอดทีละคนเพื่อให้อีกคนเป็น
พี่เลี้ยงคอยสังเกตขั้นตอนการถอดให้เรียบร้อย และกรณีที่ด่าน (ฝ่ายสนับสนุน) ไม่สวม Face Shield และใช้
มือไปปัดผมที่ลงมาหลังจากรับเอกสารของผู้ป่วยอาจเพิ่มความเสี่ยงในการรับเชื้อได้
3. ควรมีอุปกรณ์กั้น เพื่อแยกพื้นที่การรับส่งต่อผู้ป่วย ให้ชัดเจน เช่น เชือกกั้น หรือกรวยแบ่งพื้นที่
4. การประชาสัมพันธ์ญาติผู้ป่วยในโรงพยาบาลให้ทราบระบบ refer ที่ทางไทยได้ดำเนินการ
เพื่อประโยชน์ของผู้ป่วยเเละญาติผู้ป่วย
5. ข้อมูลด้านวิชาการของเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน ควรเน้นข้อมูลโรค การป้องกันตนเองของเจ้าหน้าที่
ผู้ปฏิบัติงานที่ด่าน รวมทั้ง CIQ ด้วย
6. ควรพิจารณาค่าใช้จ่ายที่ต้องใช้ในการรับส่งผู้ป่วยหรือศพ โดยประเทศมาเลเซียมีระบบการจัดการ
ส่งต่อศพ มายังประเทศไทย โดยใช้บริษัท Out source เข้ามาดำเนินการ ค่าใช้จ่าย (ทางบก) ราคาอยู่ที่
4,000 RM หรือประมาณ 40,000 บาท ถ้าทางอากาศ 14,000 RM หรือประมาณ 140,000 บาท
แต่ละด่านอาจมีความแตกต่างกันขึ้นอยู่กับข้อตกลงของด่านนั้น ๆ
7. ควรมีการปรึกษาหารือในระยะยาวหรือระยะกลาง เรื่องการเปลี่ยนรถ Refer ให้สามารถส่งต่อได้
โดยไม่ต้องเปลี่ยนรถได้หรือไม่ (ควรศึกษาข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องหรือประสานงานกับหน่วยงานที่มีอำนาจ)