Page 7 - สรุปรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี 2566
P. 7
2
4. ดำเนินงานด้านการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ (PHEIC : Public Health
Emergency of International Concern)
5. การดำเนินงานเฝ้าระวังผู้เดินทางระหว่างประเทศ สุขาภิบาลยานพาหนะและสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม
เฝ้าระวังพาหะนำโรคที่ช่องทางเข้าออกระหว่างประเทศ
6. พัฒนาเครือข่ายให้มีศักยภาพการดำเนินงานความร่วมมือระหว่างประเทศตามกรอบอนุสัญญาความร่วมมือ
และข้อตกลงระหว่างประเทศชายแดนด้านการเฝ้าระวัง ป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพ
7. วางแผน จัดการฝึกซ้อมแผน ทบทวน สรุปบทเรียน แผนตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางด้านสาธารณสุขระหว่าง
ประเทศ (PHEIC : Public Health Emergency of International Concern)
8. จัดทำแผนปฏิบัติการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศและแผนตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน
ทางด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ (PHEIC : Public Health Emergency of International Concern)
9. ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย พัฒนาเทคโนโลยีการเฝ้าระวังป้องกัน ควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศและ
ภัยสุขภาพ
10. พัฒนาวิชาการ องค์ความรู้ คู่มือ แนวทาง ขั้นตอน และมาตรฐานการปฏิบัติงานเฝ้าระวังป้องกันควบคุม
โรคติดต่อระหว่างประเทศ
11. พัฒนาศักยภาพบุคลากรที่ปฏิบัติงาน ณ ช่องทางเข้าออกระหว่างประเทศ ตามข้อกำหนดกฎอนามัย
ระหว่างประเทศ พ.ศ.2548 ในเขตรับผิดชอบ 7 จังหวัดภาคใต้ตอนล่าง
12. พัฒนาแนวทางการบริหารจัดการควบคุมโรคในสถานที่กักกันซึ่งทางราชการกำหนด (Guideline for
disease control in Quarantine facilities)
13. นิเทศ ติดตาม และประเมินผลการดำเนินงานพัฒนาสมรรถนะตามกฎอนามัยระหว่างประเทศที่ช่อง
ทางเข้าออกระหว่าง ในเขตรับผิดชอบ 7 จังหวัดภาคใต้ตอนล่าง
14. พัฒนาระบบฐานข้อมูลการเฝ้าระวัง คัดกรองของด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ
15. งานอื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย
กรอบการดำเนินงาน ของกรมควบคุมโรค ปี 2566 ด้านการสร้างความเข้มแข็งของระบบเฝ้าระวัง เพื่อสร้าง
ความเชื่อมั่นด้านการท่องเที่ยวและการลงทุน โดยการพัฒนาช่องทางเข้าออกประเทศ หรือ SMART PoE เป็น 1 ในการ
ดำเนินงานและจัดเป็นโครงการสำคัญตามแผนแม่บท สอดคล้องกับแผนแม่บท FS13.5 โดยโครงการพัฒนาสมรรถนะ
ช่องทางเข้าออกประเทศ พร้อมรับมือและปรับตัวต่อโรคอุบัติใหม่ อุบัติซ้ำและการจัดการภาวะฉุกเฉินทางด้าน
สาธารณสุขระหว่างประเทศ มีแนวทางการดำเนินงาน 4 ด้าน ดังนี้ (1) SMART QUARANTINE (พัฒนาและยกระดับ
การกักกันโรคให้ได้ตามมาตรฐาน) (2) SMART SYSTEM (ยกระดับการคัดกรอง เฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคให้มี
คุณภาพตามมาตรฐาน ถูกต้อง รวดเร็วเชื่อมต่อข้อมูลแบบ Real time) (3) SMART PERSONEL (พัฒนาสมรรถนะ
บุคลากร) และ (4) SMART SERVICE (พัฒนาการบริการให้ทันสมัย) กลุ่มด่านฯ สคร.12 ให้ความสำคัญกับการพัฒนา