Page 198 - สรุปรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี 2566
P. 198
193
- พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ.2558 การศึกษาประมวลกฎหมายฉบับนี้ที่เกี่ยวข้องกับด่านควบคุม
โรคติดต่อระหว่างประเทศหลักๆมีอยู่ 2 หมวด คือ
- หมวดที่ 3 คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด มาตรา 20, 23, และ 24
- หมวดที่ 6 การป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ มาตรา 37, 38, 39, และ 40
- โครงสร้างการดำเนินการตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. ๒๕๕๘
- องค์ประกอบของคณะทำงานประจำช่องทางเข้าออกประเทศและอำนาจหน้าที่
- มาตรการดำเนินการสำคัญสำหรับด่านควบคุมโรคติดต่อ
- กฎอนามัยระหว่างประเทศ พ.ศ.2548 (IHR 2005 : International Health Regulations 2005)
โดยส่วนที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของด่านช่องทางเข้าประเทศ คือ ส่วนที่ 4 ช่องทางเข้าออก ซึ่งเป็นที่มาของ
วิธีการดำเนินงานและการประเมินผลการดำเนินงานในช่องทางเข้าออกประเทศ (CCAT : Core Capacity
Assessment Tool) ซึ่งจะประกอบไปด้วย 2 Part ดังนี้
- Part A คือ สมรรถนะหลักในการประสานงานทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศ
- Part BI คือ สมรรถนะหลักที่ต้องได้รับการพัฒนาตลอดเวลา (ในสภาวะปกติ) คือ รักษา ส่งต่อ อบรม ตรวจ
สิ่งแวดล้อมและพาหะนำโรค
- Part BII คือ การแก้ไขเหตุการณ์ที่อาจก่อให้เกิดภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขระหว่างประเทศ คือ เตรียม
ความพร้อม ดูแล แยก กัก ทำลายเชื้อ คุมการเข้าออกประเทศ
- การตรวจใบรับรองการฉีดวัคซีนของไข้เหลือง การส่งต่อผู้ป่วยและศพระหว่างประเทศ โดยให้ปฏิบัติ
ตาม Flowchart และแนวทางของกลุ่มด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศและกักกันโรค สำนักงานป้องกัน
ควบคุมโรคที่ 12 จังหวัดสงขลา
หัวข้อที่ 3 เรื่อง การปฐมพยาบาลและดูแลผู้ป่วยเบื้องต้น และการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน
โดยนางสาวประคอง อุทัย พยาบาลวิชาชีพ
- การปฐมพยาบาลเบื้องต้นในเรื่องของการทำแผลประเภทต่างๆ
- การใช้อุปกรณ์และเครื่องมือแพทย์พื้นฐานในการทำแผล
- อุปกรณ์และยาที่จำเป็นในการเตรียมกระเป๋าพยาบาล
- การประเมินอาการผู้ป่วยเป็นลม
- การช่วยผู้ป่วยหมดสติด้วยการทำ CPR
- การใช้เครื่อง AED
หัวข้อที่ 4 เรื่อง ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการจ่ายยา โดยเภสัชกรหญิงฟารีดะห์ มูหาหมัด นักวิชาการ
สาธารณสุขชำนาญการ กลุ่มพัฒนานวัตกรรมและวิจัย สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 จังหวัดสงขลา
- มาตรฐานของยาที่ควรมีในห้องพยาบาลที่ช่องทางเข้าออกประเทศ
- บัญชียาสำหรับด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ
- หลักการใช้ยาที่ถูกต้องและผลข้างเคียงของฤทธิ์ยา
- ความปลอดภัยของการใช้ยา
- การจ่ายยาตามสายวิชาชีพ
- การเก็บรักษา และการทำลายยาอย่างถูกต้อง